A cost performance analysis of electricity production in Thailand
Rapid growth in industrial and household sectors causes increasing electricity demand in Thailand. Power Development Plan (PDP) is created to ensurc adequate electricity supply in electricity planning, procurement and generation for stability of pwer energy. When demand situation changes, PDP is also adapted to other version in appropriate time. this paer is to study cost performance analysis of electricity production in Thailand by implement PDP 2010, PDP 2010 Revision 3 and PDP 2012 (by NGOs) and to investigate how power deevelopment plan (PDP) affect to the cost performance. First, this study summarize the main issue of three PDP. Second, study the electricity production function in Thailand. Failand. Finally, this study bring the operating hour of each power plant in each PDP to analysis the cost performance and compare the cost performance of them. The result shows that Power Development Plan 2010 reflccts the best electricity production cost performance because of operation of nuclear and coal power plants. Although Power Development Plan 2012 focus on energy efficiency (EE), PDP 2012 reflect the worst electricity cost performance because of much operation of renewable and cogeneration power plants.; การพัฒนาความเจริญของชุมชนเมืองและครัวเรือนทำให้มีความต้องการใช้ไฟฟ้าประเทศไทยสูงขึ้นทุกปี จึงทำให้ต้องมีแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยหรือแผนพีดีพี เพื่อใช้ในการวางแผนในการจัดหา ผลิตไฟฟ้า อย่างมีความมั่นคงเพียงพอกับความต้องการใช้ไฟ้ฟ้าที่มากขึ้น เมื่อความต้องการใช้ไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละสถานการณ์จะมีการปรับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยตามไปด้วยเพื่อให้เกิดความถูกต้อง เหมาะสม วิทยานิพนธ์นี้ทำการศึกษาประสิทธิภาพของต้นทุนของการผลิตไฟฟ้าในประเทศไทยจากแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย 3 แผน คือแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2573 แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2573 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 และข้อเสนอแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า 2555-2573 หรือแผนพีดีพี 2012 แล้ววิเคราะห์แนวโน้มของประสิทธิภาพของต้นทุนของการเลือกใช้แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าแต่ละแผน จากการวิเคราะห์พบว่าแผนพัฒนา กำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2573 สะท้อนประสิทธิภาพของต้นทุนการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยได้ดีที่สุดเนื่องจากมีการบรรจุโรงไฟฟ้าถ่านหินและโรงไฟฟ้า นิวเคลียร์ซึ่งมีต้นทุนต่ำเข้าไปในระบบมาก ส่วนข้อเสนอแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า 2555-2573 หรือแผนพีดีพี 2012 สะท้อนประสิทธิภาพต้นทุนการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยไม่ดีนักเนื่องจากการบรรจุโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนซึ่งมีต้นทุนการผลิตไฟฟ้าสูงเข้าไปในระบบจำนวนมาก
Sat, 03 Jul 2021 00:00:00 +0000
A randomized controlled trial to compare postoperative pain after fistulotomy alone and fistulotomy with marsupialization for the treatment of simple fistula in ano
Objective: To compare the following items between two techniques of simple fistula surgery, fistolotomy and fistulotomy with marsupialization: 1.Pain score in the postoperative period. 2.Pain score after the first defecation. 3.Amount of pethidine and paracetamol usage. 4.Complication. Design: Randomized controlled trial Setting: King Chulalongkorn Memorial Hospital, Bangkok, Thiland Patients: Patients with simple uncomplicated fistula in ano are eligible for this study. Patient excluded complex fistula in ano, prior incontinence, immunocompromised patient, and bleeding tendency Methods: Fifty patients who met eligible criteria were randomized allocated into 2 gropus. The patients in one group were treated by fistulotomy alone while in the other group, fistulotomy with marsupialization were done. Pre and post-operation care were same standard in both groups. The results of this study was evaluated by pain scores which were rated by the patients in the post-operation day 1,3,5,7 and 14. Patients were followed to determine pain after the first defecation, total amount of analgesic usages and their complication. Results: Pain scores in each postoperative day was statistically different (p<0.001). However, there was no difference in postoperative pain between two treatment groups. Thirteen patients fistulotomy group and 4 patients in fistulomy with marsupialization required pethidine injection that was significantly different (p=0.017), Among 2 treatment groups, there was no significant difference in first defecation pain, amount of paracetamol usage in 7 days, and complication. No one from both groups reported anal incontinence after surgery. Conclusion: Fistulotomy with marsupialization is safe and this technique provides good outcomes. Therefore it should be encouraged to be the treatment of choice for simple fistula in ano.; วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบวิธีการผ่าตัด fistulotomy และ fistulotomy with marsupialization โดยดูจากความเจ็บปวดหลังผ่าตัด ความเจ็บปวดขณะถ่ายอุจจาระครั้งแรก จำนวนยาแก้ปวดที่ใช้และภาวะแทรกซ้อน รูปแบบการศึกษา: การศึกษาเชิงทดลองทางคลินิกโดยการสุ่ม สถานที่ทำการวิจัย: โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ วิธีการศึกษา: ผู้ป่วย simple fistula in ano 50 ราย ที่เข้าตามเกณฑ์การศึกษา จะได้รับการแบ่งเป็น 2 กลุ่มโดยวิธีสุ่มคือ กลุ่มหนึ่งได้รับการผ่าตัด fistulotomy เพียงอย่างเดียวและอีกกลุ่มหนึ่ง ได้รับการผ่าตัด fistulotomy with marsupialization ทั้ง 2 กลุ่มได้รับการดูแลก่อนและหลังผ่าตัดด้วยวิธีการแบบเดียวกันที่เป็นมาตรฐาน และมีการประเมินระดับความเจ็บปวดโดยให้ผู้ป่วยเป็นผู้กรอกในวันที่ 1,3,5,7 และ 14 หลังผ่าตัด และหลังจากการถ่ายอุจจาระครั้งแรก นอกจากนั้นจำนวนยาแก้ปวดที่ใช้รวมถึงภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด จะได้รับการประเมินระหว่างทั้ง 2 กลุ่ม ผลการศึกษา: ความเจ็บปวดแผลหลังผ่าตัดในแต่ละวันมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) แต่ไม่พบความแตกต่างของความเจ็บปวดแผลหลังผ่าตัดระหว่างกลุ่มการรักษาทั้งสอง มีผู้ป่วย 13 คนในกลุ่ม fistulotomy และผู้ป่วย 4 คนในกลุ่ม fistulotomy with marsupialization ขอยาแก้ปวดชนิดฉีด (Pethidine) เมื่อเปรียบเทียบกันพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.017) สำหรับความเจ็บปวดแผลหลังการถ่ายอุจจาระครั้งแรก จำนวนยาแก้ปวดที่กิน (paracetamol) และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นระหว่างทั้งสองกลุ่มพบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และไม่มีผู้ป่วยในกลุ่มใดเกิดปัญหาเรื่องการกลั้นอุจจาระหลังผ่าตัด สรุป: การผ่าตัดด้วยวิธี fistulotomy with marsupialization ได้ผลการรักษาที่ดีและมีความปลอดภัย ดังนั้นวิธีนี้จึงควรเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการรักษา simple fistula in ano
Thu, 03 Jun 2021 00:00:00 +0000
Accounting conservatism and controlling shareholder characteristics an empirical evidence from Thailand
This paper examines the effects of controlling shareholder (�CS�) characteristics on financial reporting conservatism. This study extends the Basu (1997) model to examine the link between accounting conservatism and controlling shareholder characteristics by incorporating the ownership proxies into the model. Controlling shareholder characteristics can be divided into two: i) founding family (�FF�) firms, and ii) family (�FAM�) firms. Since the alignment effect is likely to be more severe in FF firms, as FF Firms are more likely to pass on their business to future generation and to protest the family�s reputation, this study hypothesizes that increasing in FF member ownership is positively associated with accounting conservatism (or higher earnings quality), ceteris paribus. Conversely, the entrenchment effect is likely to be more severe when the interest of FAM and of minority shareholders are less aligned as FAM firms might not take responsibility for the firm�s early growth and development. Thus, FAM member ownerships are expected to be negatively associated with accounting conservatism. Consistent with the above hypotheses, this study finds that conservatism, as measured by asymmetric timeliness of earnings, increases with greater controlling shareholder ownership in FF firms, while at the same time conservatism decreases in FAM firms. This study also examines CEO characteristics (founder, descendent or hired outsider) in FF and FAM firms. In FF firms, founder, descendent, and hired outsider CEOs are associated with more conservatism, while only descendant CEOs in FAM firms are associated with less conservatism. Moreover, this study also examines politically connected firms and accounting conservatism and documents that politically connected FF firms are associated with less conservatism. The results also hold after controlling for control variables established in prior work to be related to corporate governance and firm characteristics. Overall, this study provides empirical evidence for conservatism based on controlling shareholder characteristics.
; งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาถึงผลกระทบลักษณะของผู้ถือหุ้นที่มีอำนาจในการควบคุมต่อความระมัดระวังทางบัญชีในรายงานทางการเงิน งานวิจัยนี้ได้ทำการขยายแบบจำลองของ Basu (1997) เพื่อทดสอบความเชื่อมโยงระหว่างความระมัดระวังทางบัญชีกับลักษณะของผู้ถือหุ้นที่มีอำนาจในการควบคุมโดยมีตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับสัดส่วนการถือหุ้นในแบบจำลอง ลักษณะของผู้ถือหุ้นที่มีอำนาจในการควบคุมแบ่งเป็น 2 ประเภท ประกอบด้วย ก) ตระกูลที่ก่อตั้งบริษัทและปัจจุบันยังมีอำนาจในการควบคุม (�ตระกูลที่ก่อตั้งบริษัท�) ข) ธุรกิจครอบครัวที่ไม่ได้ก่อตั้งบริษัทแต่ปัจจุบันมีอำนาจในการควบคุม (�ธุรกิจครอบครัว�) ดังนั้นตระกูลที่ก่อตั้งบริษัทน่าจะสอดคล้องกับทฤษฎี Alignment Effect โดยตระกูลที่ก่อตั้งบริษัทอาจจะมีการโอนต่อธุรกิจให้กับทายาทในอนาคตและเพื่อรักษาชื่อเสียงของตระกูล ดังนั้นจึงได้ตั้งสมมติฐานว่าสัดส่วนการถือหุ้นที่เพิ่มขึ้นของตระกูลที่ก่อตั้งบริษัทจะมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความระมัดระวังทางบัญชี (หรือคุณภาพกำไรสูงขึ้น) ในทางตรงกันข้ามธุรกิจครอบครัวน่าจะสอดคล้องกับทฤษฎี Entrenchment Effect เนื่องจากผลประโยชน์ของธุรกิจครอบครัวและผู้ถือหุ้นส่วนน้อยน่าจะมีความต้องการที่สอดคล้องกันลดลง สาเหตุเนื่องมาจากธุรกิจครอบครัวอาจไม่ได้มีส่วนร่วมในการเติบโตและพัฒนาบริษัทในช่วงเริ่มต้น ดังนั้นการถือหุ้นของธุรกิจครอบครัวคาดว่าจะมีความสัมพันธ์เชิงลบกับความระมัดระวังทางการบัญชี สอดคล้องกับสมมติฐานดังกล่าวข้างต้น งานวิจัยนี้พบว่าความระมัดระวังทางบัญชีจะเพิ่มขึ้นเมื่อสัดส่วนการถือหุ้นโดยตระกูลที่ก่อตั้งบริษัทเพิ่มขึ้น ในทางตรงกันข้ามความระมัดระวังทางบัญชีกลับลดลงเมื่อสัดส่วนการถือหุ้นในธุรกิจครอบครัวเพิ่มขึ้น งานวิจัยนี้ยังได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับลักษณะของประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร (คนก่อตั้ง ทายาท หรือว่าจ้างจากบุคคลภายนอก) ของตระกูลที่ก่อตั้งบริษัทและธุรกิจครอบครัว งานวิจัยพบว่าตระกูลที่ก่อตั้งบริษัท ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารที่เป็นคนก่อตั้งบริษัท ทายาทของคนก่อตั้งบริษัท และว่าจ้างจากบุคคลภายนอก มีความระมัดระวังทางบัญชีเพิ่มขึ้น ในขณะที่งานวิจัยนี้ยังพบว่าประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารที่เป็นทายาทของคนก่อตั้งบริษัทในธุรกิจครอบครัวเท่านั้นที่มีความระมัดระวังทางบัญชีที่ลดลง นอกจากนั้นงานวิจัยนี้ยังได้ทดสอบบริษัทที่มีความสัมพันธ์ทางการเมืองกับความระมัดระวังทางบัญชี และพบว่าตระกูลที่ก่อตั้งบริษัทที่มีความสัมพันธ์กับการเมืองมีความระมัดระวังทางบัญชีที่ลดลง ผลลัพธ์ดังกล่าวได้มีการควบคุมตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลกิจการที่ดีและตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับลักษณะของบริษัทของงานวิจัยในอดีต โดยภาพรวมของงานวิจัยพบว่ามีหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เกี่ยวข้องกับความระมัดระวังทางบัญชีกับลักษณะของผู้ถือหุ้นที่มีอำนาจในการควบคุม
Thu, 03 Jun 2021 00:00:00 +0000
Adaptive nearest neighbor algorithm on hierarchical weighted-index graph
Two main factors to satisfy the needs of SPP applications that require fast response are the data transfer part and the path finding part. On the first part, IEEE 802.16j is to enable the operation of multi-hop Relay Stations (RS). It aims to enhance the coverage, per user throughput and system capacity. However, the Mobile Stations (MSs) which connect to the RS are suffered from exponentially throughput degradation and increased end-to-end delay in congested networks. As the number of RS hops increase, so does the degradation and the delay growth. This research proposes a Network Coding-based Relay scheme and improved OFDMA frame structure design for multi-hop relay networks, called NC-based Relay. It allows RSs to combine two wireless backhaul transmissions into one using network coding technique. The analysis and simulation results by QualNet confirm that the proposed scheme can enhance the throughput gain up to 140%, and reduce the end-to-end delay by up to 83%. On the second part, the path finding part, this research proposes a model to index the digital map of the weighted-graph, called hierarchical index weighted-graph (HIGLA). And also propose an adaptive travel-time path selection algorithm (ATTPS) that performs faster path selection in term of traveling time than the existing shortest path algorithms.; หลักสำคัญที่จะทำให้ระบบงาน Shortest-Path Problem (SPP) ที่ต้องการการ ตอบสนองรวดเร็วนั้น ประกอบไปด้วยสองส่วน ได้แก่ ส่วนของการรับส่งข้อมูล และส่วนการ ค้นหาเส้นทาง สำหรับส่วนแรกนั้น เครือข่าย IEEE 802.16j ได้เปิดการทำงานของ Relay Stations (RS) แบบกระโดดหลายขั้น ซึ่งมีเป้าหมายที่จะขยายระยะครอบคลุม และปริมาณ การส่งข้อมูลของผู้ใช้แต่ละคน อย่างไรก็ตาม Mobile Stations (MSs) ที่เชื่อมต่อกับ RS นั้น จะได้ปริมาณการส่งข้อมูลลดลงและข้อมูลล่าช้าเพิ่มขึ้นอย่างมากในกรณีที่เครือข่ายคับคั่ง เมื่อจำนวนขั้นกระโดดของ RS ยิ่งมากขั้น ปริมาณการส่งข้อมูลก็จะยิ่งลดลง และข้อมูลก็จะ ยิ่งล่าช้ามากขึ้น ในงานวิจัยนี่ได้เสนอระบบการจัดการ RS ด้วย Network coding และ ออกแบบโครงสร้างของ Frame ใหม่ที่ดีขึ้นกว่าเดิม รวมเรียกว่า NC-based Relay โดยระบบ การจัดการนี้อนุญาตให้ RS รวมการส่งข้อมูลในเส้นทางหลักแบบไร้สายสองเส้นทางแล้วส่งใน ครั้งเดียวโดยใช้เทคนิค Network coding ผลการวิเคราะและจำลองด้วยโปรแกรม Qualnet ยืนยันว่าวิธีที่เสนอนี้สามารถขยายปริมาณการส่งข้อมูลขึ้นได้ถึง 140% และลดการล่าช้าของ การส่งข้อมูลลงได้ถึง 83% ส่วนที่สองได้แก่ส่วนการหาเส้นทาง ซึ่งงานวิจัยนี้ได้เสนอรูปแบบ สำหรับดัชนีแบบลำดับขั้นบนแผนที่ดิจิทัลที่มีการถ่วงน้ำหนัก เรียกว่า hierarchical index weighted-graph (HIGLA) และยังเสนอขั้นตอนวิธีในการดัดแปลงเลือกเส้นทางสั้นที่สุดด้วย เวลาเดินทาง เรียกว่า adaptive travel-time path selection algorithm (ATTPS) ซึ่งสามารถ ทำงานได้เร็วกว่าขั้นตอนวิธีอื่น ๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
Thu, 03 Jun 2021 00:00:00 +0000
Adsorption and dispersion of talcum powder in different surfactant solutions
Sliders used to write and read data from the disk, require extremely low levels of impurities in the manufacturing process. The most common impurity found on the surface of sliders is identified as talcum powder. The dispersion stability is expected that related to prevent redeposition on the surface of slider in cleaning agent. The objective of this work was to investigate the surfactant adsorption and dispersion of talcum powders in different surfactant solutions. Surfactant solutions can enhance the dispersion stability of talcum powder as compared with in absence surfactant. The dispersion stability of talcum powder increased with increasing surfactant concentration Solution pH at low surfactant concentration affected on dispersion of talcum powder but at high surfactant concentration slightly affected on dispersion. SDS surfactant adsorbed with the highest adsorption density, leading to increase negative electrical zeta potentials that exhibited the highest dispersion stability. Adsorption of CTAB surfactant changed the negative charge surfaces to positive charge surfaces with increase positive electrical zeta potentials that can stabilize talcum powder to disperse. AE7 surfactant adsorbed on talcum powder with the lowest adsorption but the steric effect of surfactant adsorbed on surface can enhance the dispersion stability of talcum powder.; หัวอ่านคืออุปกรณ์ที่ใช้ในการอ่านหรือเขียนข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ซึ่งในกระบวนการผลิตหัวอ่านนั้นต้องการปริมาณสิ่งเจือปนต่ำ โดยส่วนใหญ่อนุภาคที่ถูกตรวจพบพื้นผิวของหัวอ่านคืออนุภาคทัลคัม การกระจายตัวของอนุภาคคาดว่าเกี่ยวข้องกับการป้องกันการติดลงบนพื้นผิวในสารทำความสะอาด ดังนั้นจุดประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ การศึกษาการดูดซับและการกระจายตัวของอนุภาคทัลคัมในสารละลายลดแรงตึงผิวที่แตกต่างกัน จากการศึกษาพบว่าสารลดแรงตึงผิวช่วยเพิ่มความสามารถในการกระจายตัวของอนุภาคทับคัลเมื่อเปรียบเทียบกับสารละลาบที่ไม่มีสารลดแรงตึงผิว การกระจายตัวของอนุภาคเพิ่มขึ้นเมื่อความเข้มข้นของสารลดแรงตึงผิวเพิ่มขึ้นโดยที่ความเข้มข้นต่ำความเป็นกรดเบสของสารละลายไม่มีผลต่อการกระจายตัว แต่ความเป็นกรดเบสมีผลต่อการกระจายตัวที่ความเข้มข้นสูง โซเดียมโดเดคซิลซัลเฟต (SDS) ดูดซับบนพื้นผิวมีค่าสูงสุดทำให้เพิ่มความต่างศักย์ที่เป็นลบบนพื้นผิว ซึ่งทำให้เพิ่มการกระจายตัวของอนุภาคได้สูงที่สุด ส่วนการดูดซับของเฮกซะเดคซิลไตรเมธิลแอมโมเนียมโบรไมด์ (CTAB) นั้น ทำให้เปลี่ยนพื้นผิวของอนุภาคที่เป็นลบให้กลายเป็นบวกและเพิ่มความต่างศักดิ์ที่เป็นบวกบนพื้นผิว ส่งผลทำให้สารลดแรงตึงผลช่วยในการกระจายตัวของอนุภาคได้ สำหรับแอลกอฮอล์อีทอกซีเลท (AE7) นั้นดูดซับบนพื้นผิวของอนุภาคมีค่าต่ำสุด แต่ความเกะกะของสารลดแรงตึงผิวที่ดูดซับบนพื้นผิวส่งผลทำให้เกิดการกระจายตัวของอนุภาคทัลคัม
Thu, 03 Jun 2021 00:00:00 +0000
Adsorption of m-and p-chloronitrobenzene on FAU zeolites and its application on crystallization
Adsorption isotherms of m- and p-chloronitrobenzene (CNB), isomeric substances on FAU zeolites with alkaline earth exchanged cations were studied under static conditions at 30°C. The experiment was carried out by preparing 1 to 8 wt% of m- and p-CNB in the solution. Hexane and dodecane were used as the solvent and tracer, respectively. The composition was determined by a gas chromatograph. The results further substantiated the adsorption behavior of CNBs on the FAU zeolites with the alkaline exchanged cations. The adsorption capacities of CNBs on both types of zeolite partly depended on the acid-base interaction. Normally, m-CNB was selectively adsorbed by the zeolites more than p-CNB due to a higher dipole moment or higher basicity. The adsorption capacities of m- and p-CNB on the zeolites with both the alkaline and the alkaline earth exchanged cations increased with the acid strength of the zeolite. NaY and CaY were the most appropriate adsorbent for CNBs separation because they offered the high adsorption capacity of CNBs and a high m -lp-CNB selectivity. Moreover, the FAU zeolites were also used in the crystallization of m- and p-CNB to study their effect on the precipitate composition.
; การศึกษากระบวนการดูดซับคลอโรไนโตรเบนซีนไอโซเมอร์ด้วยซีโอไลท์ที่แลกเปลี่ยนไอออนด้วยหมู่อัลคาไลน์เอิร์ธ ณ สภาวะสมดุลสถิต ที่ 30 องศาเซลเซียส ในกระบวนการทดลองใช้สารผสมเมทา-และพารา-คลอโรไนโตรเบนซีนที่ความเข้มข้นระหว่าง 1-8 เปอร์เซนโดยน้ำหนักของสารละลาย โดยมีเฮกเซนและโดเดคเคนเป็ตัวทำละลายและสารมาตรฐานตามลำดับในการหาค่าองค์ประกอบของสารละลายได้ใช้เทคนิคก๊าซโครมาโตกราฟและได้ทำการเปรียบเทียบผลการศึกษาการดูดซับกับงานวิจัยการดูดซับคลอโรไนโตรเบนซีนไฮโซเมอร์ด้วยซีโอไลท์ที่แลกเปลี่ยนไอออนด้วยหมู่อัลคาไลน์ จากผลการวิจัยทั้งสองพบว่าพฤติกรรมการดูดซับของคลอโรไนโตรเบนซีนไอโซเมอร์บนซีโอไลท์มีผลดังนี้ ค่าความจุการดูดซับของสารคลอโรไนโตรเบนซีนไอโซเมอร์ขึ้นอยู่กับความเป็นกรด-เบสของตัวดูดซับและตัวถูกดูดซับ โดยที่ซีโอไลท์ซึ่งเป็นตัวดูดซับเลือกดูดซับเมทา-คลอโรไนโตรเบนซีนมากกว่าพารา-คลอโรไนโตรเบนซีน เนื่องจากเมทา-คลอโรไนโตรเบนซีนมีความเป็นเบสมากกว่าหรือมีความสามารถในการให้อิเล็กตรอนได้มากกว่าพารา-คลอโรไนโตรเบนซีน ดังนั้นเมทา-คลอโรไนโตรเบนซีนจึงสามารถสร้างแรงยึดกับซีโอไลท์ได้ดีกว่าพารา-คลอโรไนโตรเบนซีน ค่าความจุการดูดซับของคลอโรไนโตรเบนซีนไอโซเมอร์บนซีโอไลท์เพิ่มขึ้นตามความเป็นกรดของซีโอไลท์ทั้งที่แลกเปลี่ยนไอออนด้วยหมู่อัลคาไลน์และอัลคาไลน์เอิร์ธ นอกจากนี้ยังได้ใช้ซีโอไลท์ในกระบวนการตกผลึกสารคลอโรไนโตรเบนซีนไอโซเมอร์ เพื่อศึกษาผลของซีโอไลท์ต่อค่าองค์ประกอบของผลึกคลอโรไนโตรเบนซีนที่ได้ด้วย
Thu, 03 Jun 2021 00:00:00 +0000
Adsorptive separation of chloronitrobenzenes : static equilibrium study
Chloronitrobenzenes (CNBs) are used in numerous industries including pesticide, fungicide, pharmaceutical, preservative, photochemical and rubber industries. The methods used to separate each isomer are complicated and costly. In this study, an adsorptive process was investigated for potential CNB isomer separation. The liquid phase adsorption of CNBs was studied on a series of X and Y zeolites. The effect of cation exchange on the selectivity and adsorption capacity was also investigated. m-CNB and p-CNB were used as a feed component. The saturation capacities of single and binary systems of the adsorbates on the adsorbent were determined. The highest selectivity determined for m-lp-CNB is 2.08 for Na Y at high equilibrium concentration. The competitive adsorption isotherms of the two isomers were also observed. Moreover, a series of desorbents and water content in the zeolite structure were chosen in order to study their effects on the separation.; คลอโรไนโตรเบนซีนใช้ในอุตสาหกรรมหลายชนิดอาทิ อุตสาหกรรมยาฆ่าแมลงและวัชพืช เครื่องสำอางค์ เคมี และยาง ในการแยกแต่ละไอโซเมอร์ของคลอโรไนโตรเบนซีนออกจากกันต้องใช้กระบวนการที่ซับซ้อนและมีค่าใช้จ่ายสูง ในงานวิจัยนี้ศึกษาการแยกไอโซเมอร์ของคลอโรไนโตรเบนซีนโดยใช้กระบวนการดูดซับในวัฏภาคของเหลวซึ่งใช้ซีโอไลต์เอ็กซ์ และวายเป็นสารดูดซับ นอกจากนี้ยังทำการศึกษาผลของการแลกเปลี่ยนไอออนในโครงสร้างของซีโอไลต์เอ็กซ์และวายที่มีผลต่อค่าความสามารถในการดูดซับ ค่าการเลือกดูดซับ ค่าความสามารถในการดูดซับอิ่มตัวของเมทา-และพารา-คลอโรไนโตรเบนซีนในระบบสารเดี่ยวและระบบสารผสมบนสารดูดซับ จากผลการทดลองพบว่าค่าการเลือกดูดซับสูงสุดระหว่าง เมทา-และพารา-คลอโรไนโตรเบนซีนที่ความเข้มข้นสูง ณ สภาวะสมดุล คือ 2.08 บนซีโอไลต์วายที่มีโซเดียมเป็นไอออนแลกเปลี่ยนในโครงสร้าง กราฟแสดงการดูดซับ ณ สภาวะสมดุลของระบบสารผสมระหว่างไอโซเมอร์สองตัวนี้ได้นำมาแสดงด้วย นอกจากนี้ยังรายงานผลของสารที่ใช้ในการชะเมทา-และพารา-คลอโรไนโตรเบนซีนที่ถูกดูดซับออกจากสารดูดซับ และผลของปริมาณน้ำในโครงสร้างของซีโอไลต์ที่มีผลต่อการแยกไอโซเมอร์ทั้งสองอีกด้วย
Thu, 03 Jun 2021 00:00:00 +0000
Antioxidant and antimutagenic activity of extracts from pericarp and seed of zanthoxylum limonella alston
This study was conducted to investigate the antioxidant and antimutagenic activity of Zanthoxylum limonella seed extract and that of Z. limonella pericarp extract. The total phenolic contents and antioxidant activity assay including DPPH assay and FRAP assay were performed. The results showed that the antioxidant activity of pericarp extract was higher than that of the seed extract. The direct mutagenicity assay was determined, with and without nitrite treatment using the Ames test towards Salmonella typhimurium strains TA98 and TA100. The mutagenic modification assay was performed by measuring the interfering effect of the pericarp extract and the seed extract on the formation of standard mutagens during the reaction between 1-aminopyrene and sodium nitrite (antiformation) and on the standard mutagen produced from the same reaction (antimutagen). For the seed extract, there was not direct mutagenic either with or without nitrite treatment on both tester strains, and it could interfere the formation of mutagen by decreasing the mutagenic activity. On the other hand, it was found that the seed extract slightly enhance the mutagenic activity of the standard mutagen. In addition, pericarp extract exhibited direct mutagenic activity after being treated with nitrite and increased the mutagenic activity on the formation of standard mutagen. However, the antimutagenic activity of the pericarp extract on the standard mutagen obtained from 1-aminopyrene reacted with sodium nitrite on S. typhimurium strains TA98 and TA100 was observed. The present study revealed the different inhibitory mechanisms of Z. limonella seed extract and that of Z. limonella pericarp extract on mutagenic activity of standard mutagen. However, the consumption of fruits from Z. limonella with nitrite or nitrite containing food products should be avoided to prevent the formation of mutagen.; การศึกษานี้เป็นการวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านออกซิเดชันและฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ของสารสกัดจากผนังผลและสารสกัดจากเมล็ดมะแขว่น (Zanthoxylum limonella) โดยทำการวิเคราะห์หาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกและทดสอบฤทธิ์ต้านออกซิเดชันด้วยวิธีการทำลายอนุมูลอิสระดีพีพีเอช และวิเคราะห์ความสามารถในการรีดิวซ์เฟอร์ริกของสารต้านออกซิเดชัน ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดผนังผลมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชันมากกว่าสารสกัดเมล็ด ทำการทดสอบการก่อกลายพันธุ์โดยตรงของสารสกัดทั้งในสภาวะที่มีและไม่มีไนไตรท์ในการทำปฏิกิริยาต่อเชื้อ S. typhimurium สายพันธุ์ TA98 และ TA100 โดยวิธีทดสอบเอมส์ ส่วนการทดสอบผลของสารสกัดในการปรับเปลี่ยนฤทธิ์การก่อกลายพันธุ์ ทำโดยการวัดผลของสารสกัดต่อการก่อตัวของสารก่อกลายพันธุ์มาตรฐานที่เกิดระหว่างปฏิกิริยาของ 1-อะมิโนพัยรีนและไนไตรท์ (antiforming) และผลของสารสกัดต่อสารก่อกลายพันธุ์มาตรฐานที่เกิดขึ้นแล้วจากปฏิกิริยาดังกล่าว (antimutagen) ผลการทดสอบฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์โดยตรงพบว่า สารสกัดเมล็ดมะแขว่นไม่แสดงฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์โดยตรงต่อเชื้อ S. typhimurium ทั้งสองสายพันธุ์ ทั้งในสภาวะที่มีและไม่มีไนไตรท์ นอกจากนี้สารสกัดเมล็ดยังสามารถยับยั้งการก่อตัวของสารก่อกลายพันธุ์มาตรฐานระหว่างการทำปฏิกิริยาของ 1-อะมิโนพัยรีนและไนไตรท์ แต่อย่างไรก็ตามสารสกัดเมล็ดแสดงผลการเสริมฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ของสารก่อกลายพันธุ์มาตรฐานได้เล็กน้อย สำหรับสารสกัดผนังผลเมื่อทำปฏิกิริยากับไนไตรท์แสดงฤทธิ์การก่อกลายพันธุ์โดยตรงและเสริมการก่อตัวของสารก่อกลายพันธุ์มาตรฐานระหว่างการทำปฏิกิริยาของ 1-อะมิโนพัยรีนและไนไตรท์ต่อเชื้อ S. typhimurium สายพันธุ์ TA98 อย่างไรก็ตามสารสกัดผนังผลสามารถยับยั้งการก่อกลายพันธุ์ของสารก่อกลายพันธุ์มาตรฐานที่เกิดขึ้นหลังจากการทำปฏิกิริยาของ 1-อะมิโนพัยรีนและไนไตรท์ต่อเชื้อ S. typhimurium สายพันธุ์ TA98 และ TA100 ได้ การศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงกลไกที่แตกต่างกันของสารสกัดจากผนังผลและเมล็ดมะแขว่นในการยับยั้งฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ของสารก่อกลายพันธุ์มาตรฐาน แต่อย่างไรก็ตามควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผลของมะแขว่นร่วมกับไนไตรท์หรืออาหารที่มีส่วนประกอบของของไนไตรท์เพื่อป้องกันการก่อตัวของสารก่อกลายพันธุ์
Wed, 03 Feb 2021 00:00:00 +0000
Application of information technology to build road inventory in Lao PDR
Collection of roadway inventory data is considered a basic task for road management agencies. Maintaining up-to-date roadway information is essential for design, planning, maintenance and rehabilitation. For many years, transportation agencies in Lao PDR have been using traditional method for inventory, typically recording with pencil and paper form to collect the data, and then transferring all data to database on a computer. Such method is time-consuming, labor-intensive, vulnerable to input errors, and difficult to update the data. This thesis proposes the utilization of hand-held device for field data acquisition. The study focuses on using ArcPad application combined with Personal Digital Assistance (PDA) and GPS receiver technology for collection of roadway inventory. With the digital data capture system, point as well as line data input and editing can be achieved in field. This technique, which includes data input forms in the fixed length segmentation of street center line of road network GIS base map, has proven to be of value and would expedite the process of updating road inventory data in the database. The findings of the present study show that the selected methodology is an efficient tool for field data entry which can accommodate feature recognition and navigation purposes. In addition, a comparison of cost and time for data collection by traditional manual and digital method suggests that the digital method is cost-effective and takes less time to implement. The effectiveness of mobile inspection data collection is substantial in term of time-saving from data transcription work and the compatibility of digital field maps.; การเก็บข้อมูลลักษณะของสายทางนับเป็นงานขั้นพื้นฐานของหน่วยงานต่างๆที่มีหน้าที่ในการดูแลและบำรุงรักษาสายทาง ข้อมูลลักษณะของสายทางต่างๆ ที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้มีความทันสมัยอยู่เสมอจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนในการบำรุงรักษาและปรับปรุงสายทางใหม่ในอดีตที่ผ่านมา หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบและดูแลระบบขนส่งในประเทศลาวอาศัยวิธีการเก็บข้อมูลลักษณะของสายทาง โดยการใช้ดินสอบันทึกข้อมูลลงในกระดาษ หลังจากนั้นจึงทำการถ่ายโอนข้อมูลทั้งหมดเข้าไปเก็บไว้ในระบบฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ วิธีการดังกล่าวนับเป็นการสิ้นเปลืองเวลา แรงงานคน การป้อนข้อมูลเกิดความผิดพลาดและยากต่อการนำข้อมูลมาปรับปรุงแก้ไขใหม่ วัตถุประสงค์ในการศึกษานี้คือการนำเสนอการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์แบบพกพาเพื่อเก็บข้อมูลลักษณะของสายทางในภาคสนาม การศึกษาได้ให้ความสำคัญในการนำ ArcPad มาประยุกต์ใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์แบบพกพา (PDA) และอุปกรณ์รับสัญญาณดาวเทียม GPS เพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลลักษณะของสายทาง ทำให้สามารถบันทึกข้อมูลจุดหรือเส้นและสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ในสนาม วิธีการดังกล่าวประกอบด้วยการป้อนข้อมูลลงในเส้นสายทางที่ได้แบ่งเป็นช่วงๆ ของโครงข่ายถนนในแผนที่ภูมิศาสตร์ (GIS base map) ซึ่งวิธีการดังกล่าวนี้ได้พิสูจน์แล้วว่าประสิทธิภาพและมีความรวดเร็วในทางปฏิบัติ จากผลการศึกษาพบว่าในทางปฏิบัติการเลือกใช้วิธีการดังกล่าวนี้มีประสิทธิภาพเหมาะสมที่จะเป็นเครื่องมือสำหรับใช้ในการป้อนข้อมูลในสนามเพื่อจำแนกข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายและเวลาที่ใช้ในการเก็บข้อมูลโดยวิธีการดั้งเดิมและวิธีการที่นำเสนอ พบว่าวิธีการใหม่เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ ช่วยประหยัดต้นทุนในการดำเนินงาน และใช้เวลาในการเก็บข้อมูลน้อย โดยประโยชน์ของการเก็บข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์แบบพกพาจะช่วยประหยัดเวลาจากการคัดลอกข้อมูลในการทำงานและความสอดคล้องของตำแหน่งข้อมูลในภาคสนามกับแผนที่ดิจิตอล
Thu, 03 Jun 2021 00:00:00 +0000
Application of needle-free injection technology for foot and mouth disease vaccination via intradermal route
Foot and mouth disease (FMD) is an endemic disease in Thailand and caused severe economic loses. In order to prevent and control disease, the vaccination program is routinely administered for 2-3 times a year via subcutaneous route (SC). Even though, the vaccination is performed regularly, the outbreaks have often reported. The outbreaks occur due to the failure of number of immunity animal in population or herd immunity. The limitation of vaccine distribution to all animal population and difficulty of cattle restraint are forcible several farmers to failing to vaccinate their animals. Based on previous studies, the intradermal route (ID) can induce an efficient immune response with a lower dose than the SC route. Recently, the automatic needle-free intradermal vaccination has been applied as an alternative vaccinating method in dairy cows. The automatic needle-free intradermal vaccination offers the rapid and practical vaccine administration. Therefore, this study aims to compare the immune response between different routes of FMD vaccine administration and to optimize dose of ID vaccine. The conducted study used 40 calves and 40 heifers with inactivated FMD trivalent (O, A and Asia-1) vaccine in which produced locally by department of livestock development (DLD). The calves were allocated into seven groups of five calves per group (except 10 in group II) and vaccinated as group I: ID injected placebo (1 mL normal saline), group II: SC vaccinated with 2 mL, group III: ID vaccinated via automatic needle-free device with 1 mL, groups IV-VII: ID vaccinated with 0.25 mL, 0.5 mL, 1 mL and 2 mL, respectively. Additionally, heifers were divided into four group of ten animals each. Group I 2 mL SC vaccination, group II 2 mL SC vaccination via automatic needle-free device with 2 mL, group III 1 mL vaccination and group IV 1 mL ID vaccination via automatic needle-free device. Calves were vaccinated twice (day 0 and day 14), while heifers were vaccinated only once with trivalent FMDV vaccine. Blood samples were collected from 0 to 120 days post-vaccination (dpv) to determine the immune response by viral neutralization test (VNT). To check status of FMD infection in experimental animal, the level of antibody against non-structural protein of virus (NSP) was measured by PrioCHECK FMDV NS ELISA tests. The result found that the 98 selected samples from 25 calves were found sero-negative for NSP antibodies. The highest average NAT against serotype O on 7 dpv was group VI (ID 1) followed by group IV (ID 0.25), while the highest average against serotype Asia-1 NAT on 7 dpv was group IV (ID 0.25) followed by group VI (ID 1). The levels of a proportion of protective levels against serotype O in calves was mostly lower than 40%. However, the result of the heifers found that the highest average NAT against serotype O on 7 dpv was mostly higher than 80% of the proportion of protective levels with no significant among groups. The results reveal that mostly NAT values in calves were low in which the NAT values from ID via automatic needle-free (group III) did not differ from SC (group II). Since the inactivated FMD vaccine has stimulated the low immune response with a short duration in protection, therefore, the vaccination in calves should be intense boosted. The results in heifers illustrated that automatic needle-free device via ID 1 mL can be a substitute for the SC. In order to reduce dosage of vaccine, the application of ID via an automatic needle-free device can be considered as the alternative for FMD vaccination in Thai dairy cattle.; โรคปากและเท้าเปื่อยเป็นโรคประจำถิ่นในประเทศไทย ก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ การป้องกันและควบคุมโรคปากและเท้าเปื่อยสามารถปฏิบัติโดยการให้วัคซีนโดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังแก่สัตว์ปีละ 2-3 ครั้ง ถึงแม้ว่ามีการฉีดวัคซีนอย่างต่อเนื่องยังคงพบการระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อย สาเหตุของการระบาดอาจเกิดจากการเพิ่มระดับภูมิคุ้มกันที่ไม่เพียงพอในประชากรสัตว์ การกระจายวัคซีนไม่ทั่วถึง และเกษตรกรไม่สามารถจับบังคับสัตว์ทำให้ไม่สามารถให้วัคซีนแก่สัตว์ได้ จากหลายการศึกษาพบว่า วิธีการบริหารยาโดยการฉีดวัคซีนเข้าในผิวหนังสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ด้วยปริมาณที่ต่ำกว่าการฉีดเข้าใต้ผิวหนังและการประยุกต์ใช้วัคซีนโดยการฉีดเข้าผิวหนังด้วยเทคโนโลยีการฉีดยาที่ปราศจากเข็มจะเป็นทางเลือกที่มีศักยภาพในการทำวัคซีนในโคนม ทำให้สามารถมีจำนวนวัคซีนมากขึ้น และการฉีดยาอัตโนมัติแบบปราศจากเข็มโดยการฉีดเข้าในผิวหนังซึ่งใช้งานง่าย สะดวก มีระบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพ สามารถทำวัคซีนแก่สัตว์ได้สะดวก ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อเปรียบเทียบระดับภูมิคุ้มกันจากการทำวัคซีนโรคปากและเท้าเปื่อยด้วยวิธีการฉีดวัคซีนและศึกษาปริมาณโด้สในบริหารการฉีดเข้าในผิวหนังที่สามารถกระตุ้นระดับภูมิคุ้มกันจากวัคซีน แบ่งการศึกษาออกเป็น ในลูกโค 40 ตัว และโคสาว 40 ตัว การศึกษาในลูกโค แบ่งออกเป็น เจ็ดกลุ่ม กลุ่มละ 5 ตัวยกเว้นกลุ่มที่สอง 10 ตัว กลุ่มที่หนึ่ง ได้รับน้ำเกลือเข้าในผิวหนังปริมาณ 1 มิลลิลิตร กลุ่มที่สอง ได้รับวัคซีนเข้าใต้ผิวหนังปริมาณ 2 มิลลิลิตร กลุ่มที่สาม ได้รับวัคซีนเข้าผิวหนังด้วยเทคโนโลยีที่ปราศจากเข็มปริมาณ 1 มิลลิลิตร กลุ่มที่สี่ถึงเจ็ด ได้รับวัคซีนเข้าผิวหนังปริมาณ 0.25, 0.5, 1 และ 2 มิลลิลิตร ตามลำดับ การศึกษาในโคสาวแบ่งออกเป็น สี่กลุ่มกลุ่มละ 10 ตัว กลุ่มที่หนึ่ง ได้รับวัคซีนเข้าใต้ผิวหนังปริมาณ 2 มิลลิลิตร กลุ่มที่สอง ได้รับวัคซีนเข้าใต้ผิวหนังโดยเทคโนโลยีปราศจากเข็ม ปริมาณ 2 มิลลิลิตร กลุ่มที่สาม ได้รับวัคซีนเข้าในผิวหนังปริมาณ 1 มิลลิลิตร และกลุ่มที่สี่ ได้รับวัคซีนเข้าในผิวหนังด้วยเทคโนโลยีที่ปราศจากเข็มปริมาณ 1 มิลลิลิตร ลูกโคได้รับวัคซีนเข็มแรกในวันแรกของการศึกษาและกระตุ้นซ้ำในวันที่ 14 ของการศึกษา ส่วนโคสาวได้รับการกระตุ้นวัคซีน 1 ครั้งในวันแรกของการศึกษา สัตว์ในการศึกษาจะถูกเก็บเลือดตั้งแต่วันแรกของการศึกษาจนถึงวันที่หนึ่งร้อยยี่สิบ เพื่อประเมินระดับภูมิคุ้มกันหลังจากการทำวัคซีนโดยวิธีการตรวจแบบไวรัสนิวเทลไรซิ่งและการตรวจโปรตีนเอ็นเอสพีเพื่อประเมินการติดเชื้อโดยธรรมชาติ ผลการศึกษาพบว่าไม่พบระดับแอนติบอดี้ต่อโปรตีนเอ็นเอสพีใน 98 ตัวอย่างจากกลุ่มลูกโค 25 ตัวที่ตรวจ ระดับนิวเทลไรซิ่งแอนติบอดีต่อซีโรไทป์โอในลูกโค ในวันที่ 7 หลังจากการให้วัคซีนพบว่า กลุ่มหก มีค่าสูงสุดตามด้วย กลุ่มสี่ ในขณะที่วันที่ 21 ของการศึกษาพบว่ากลุ่มสี่มีค่าสูงสุดตามด้วยกลุ่มหก เมื่อเทียบสัดส่วนของสัตว์ที่มีระดับภูมิคุ้มกันถึงระดับป้องกันโรคได้ พบว่าลูกโคมีระดับภูมิคุ้มโรคต่อซีโรไทป์โอมีค่าประมาน 40% อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาของโคสาวพบว่า สัดส่วนของสัตว์ที่มีระดับภูมิคุ้มโรคต่อซีโรไทป์โอในวันที่ 7 ของการศึกษามีค่าประมาณ 80% โดยไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม ผลการศึกษานี้สามารถบ่งชี้ ระดับนิวเทลไรซิ่งแอนติบอดีในลูกโคหลังจากการทำวัคซีนมีค่าต่ำ ทั้งในกลุ่มที่ใช้เทคโนโลยีการฉีดยาแบบปราศจากเข็มและการฉีดเข้าใต้ผิวหนังโดยไม่แตกต่างกัน วัคซีนโรคปากและเท้าเปื่อยเป็นวัคซีนเชื้อตายซึ่งกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคได้ต่ำ ระยะคุ้มกันโรคสั้น ดังนั้นการทำวัคซีนในลูกโคจึงจำเป็นต้องมีการกระตุ้นซ้ำหลายๆครั้ง ผลการศึกษาในโคสาวพบว่า การให้วัคซีนในผิวหนังด้วยเทคโนโลยีที่ปราศจากเข็มปริมาน 1 มิลลิลิตรสามารถใช้ทดแทนวิธีการให้วัคซีนใต้ผิวหนังปริมาณ 2 มิลลิลิตรได้ และสามารถลดขนาดโด๊สของวัคซีนลง ดังนั้นการฉีดยาด้วยเทคโนโลยีที่ปราศจากเข็มทางผิวหนังสามารถนำมาเป็นทางเลือกของการฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยในโคนมของประเทศไทย
Sat, 03 Apr 2021 00:00:00 +0000
Bioactive chemical constituents from ellipeiopsis cherrevensis and stelechocarpus cauliflorus
Chemical investigation of the aerial parts of Ellipeiopsis cherrevensis R. E. Fr. (family Annonaceae) led to the isolation of three polyoxygenated cyclohexenes namely ferrudiol and zeylenol and a new derivative, ellipeiopsol D, along with two flavonoid glycosides, tiliroside and kaempferol-3-Ο-rutinoside, as well as a new natural chalcone, 2', 4' �dihydroxy-3'�(2-hydroxybenzyl)-6'�methoxychalcone and one alkaloid, lanuginosine. From the leaves and stems of another annonaceous plant, Stelechocarpus cauliflorus R. E. Fr., four lignans namely galgravin, licarin A, acuminatin, and a 2:1 mixture of veraguensin and galgravin, four aporphine alkaloids which are aristolactam AII, piperolactams A and D noraristolodione, two flavonoids namely engeletin and astilbin, together with one sesquiterpenoid, spathulenol, were isolated. The structure determination of these compounds was accomplished by spectroscopic methods, including UV, IR, MS and NMR, and comparison with previously reported data. 2', 4' �Dihydroxy-3' �(2-hydroxybenzyl)-6' �methoxychalcone, licarin A and piperolactam D exhibited antituberculosis, anti HSV-I and cytotoxic activities, whereas the chalcone also showed antimalarial activity. Acumination displayed antituberculosis and cytotoxic activities, while galgravin exhibited antituberculosisand anti HSV-I activities. Tiliroside, kaempferol-3-Ο-rutinoside, ferrudiol and zeylenol were all able to stimulate lymphocyte proliferation, whereas the latter two cyclohexenes also showed anti HSV-I and antituberculosis activities. In addition, bioactivity-guided fractionation yielded engeletin and astilbin as inhibitors of aldose reductase enzyme and Advance Glycation End Products formation.; การศึกษาองค์ประกอบทางเคมีจากใบและต้นของนมแมวป่า (วงศ์ Annonaceae) สามารถแยกสารในกลุ่ม polyoxygenated cyclohexene จำนวน 3 ชนิด คือ ferrudiol, zeylenol และสารอนุพันธ์ชนิดใหม่ คือ ellipeiopsol D พร้อมกับ สารในกลุ่ม flavonoid glycoside จำนวน 2 ชนิด คือ tiliroside และ kaempferol-3-Ο-rutinoside รวมทั้งสารกลุ่ม chalconeที่พบในธรรมชาติเป็นครั้งแรก คือ 2', 4' �dihydroxy-3' �(2-hydroxybenzyl)-6' �methoxychalcone และสารในกลุ่ม alkaloid จำนวน 1 ชนิด คือ lanuginosine สำหรับการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีจากใบและต้นของงำเงาะซึ่งเป็นพืชอีกชนิดหนึ่งในวงศ์ Annonaceaeสามารถแยกสารในกลุ่ม lignan จำนวน 4 ชนิด คือ galgravin, licarin A, acuminatin และสารผสมระหว่าง veraguensin และ galgravin ในอัตราส่วน 2:1 พบสารในกลุ่ม alkaloid จำนวน 4 ชนิด คือ aristolactam AII, piperolactam A, piperolactam Dและ noraristolodione สารในกลุ่ม flavonoid จำนวน 2 ชนิด คือ engeletin และ astilbin นอกจากนี้ยังพบสารในกลุ่ม sesquiterpene จำนวน 1 ชนิด คือ spathulenolการพิสูจน์โครงสร้างทางเคมีของสารทั้งหมดที่สกัดแยกได้โดยอาศัยการวิเคราะห์เชิงสเปคตรัมของ UV, IR, MS และ NMRร่วมกับการเปรียบเทียบข้อมูลของสารที่เคยมีการรายงานมาแล้ว พบว่า 2', 4' �dihydroxy-3' -(2-hydroxybenzyl)-6' -methoxychalcone, licarin A, piperolactam D แสดงฤทธิ์ต้านวัณโรค ฤทธิ์ต้านไวรัสเริม และฤทธิ์ความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง ซึ่งสาร chalcone ชนิดนี้ยังสามารถแสดงฤทธิ์ต้านมาลาเรียด้วย และพบว่า acuminatin แสดงฤทธิ์ต้านวัณโรคและฤทธิ์ความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง ในขณะที่ galgravinแสดงฤทธิ์ต้านวัณโรคและไวรัสเริม นอกจากนี้ tiliroside, kaempferol-3-Ο-rutinoside, ferrudiol และ zeylenol สามารถกระตุ้นการเพิ่มจำนวนของ lymphocyte ได้ และจากกระบวนการสกัดแยกสารโดยอ้างอิงฤทธิ์ทางชีวภาพ พบว่า engeletin และ astilbin สามารถยับยั้งเอนไซม์ aldose reductaseและยับยั้งการสร้าง Advance Glycation End Products ได้
Thu, 03 Jun 2021 00:00:00 +0000
Building for the future a framework for sustainable road construction in Lao PDR
The purpose of this study is to propose a framework for sustainable infrastructure development in the Greater Mekong Subregion, learning from the experience of road construction in Lao PDR. The main research question is to discover what knowledge can we glean from past infrastructure development in the Greater Mekong Subregion and Lao PDR which would facilitate the creation of a more sustainable development model. The information used in this study was gathered through extensive literature research in addition to interviews with key actors involved with the construction and monitoring of Highway 9 in Southern Lao PDR. Analysis of both infrastructure and sustainable development reaffirms the value of infrastructure towards the improvement of human welfare, yet points out its deficiencies, notably its strain on the natural environment. Furthermore, the concept of sustainable development, with a definition that focuses on maintenance of the natural capital stock, is explored, which appears to be an attractive path towards mitigating infrastructures harmful side-effects. Additionally, the case study of road construction in Southern Lao PDR illustrates the environmental impacts of this development, with a focus on specific deficiencies within the construction process. Based on both the literature analysis and case study a framework for sustainable infrastructure development is presented. This framework focuses on the four dimensions of a project, as observed in the case study: Sound planning, sound implementation, effective monitoring, and accountability. Recommendations are presented which would introduce the maxim of sustainable development to each development phase. Examples of these recommendations include: Environmental valuation and cost-benefits analyses in the assessment and planning stage, increased monitoring by governmental regulatory agencies, and a transparent bidding process to counter corruption.; จุดประสงค์ของการศึกษานี้คือ เพื่อเสนอกรอบการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแบบยั่งยืนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion) โดยเรียนรู้จากประสบการณ์การก่อสร้างถนนในสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว คำถามหลักของการวิจัยมีจุดประสงค์เพื่อค้นหาว่าเราจะสามารถรวบรวมความรู้ใดได้บ้างจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ดำเนินการไปแล้วในอดีตในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งจะอำนวยประโยชน์ให้กับการสร้างรูปแบบการพัฒนาที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษานี้รวบรวมจากเอกสารงานวิจัยอย่างกว้างขวางรวมทั้งการสัมภาษณ์ผู้มีบทบาทสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างและเฝ้าระวังทางหลวง หมายเลข 9 ทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว การวิเคราะห์ทั้งโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาอย่างยั่งยืนช่วยยืนยันคุณค่าของโครงสร้างพื้นฐานในแง่การปรับปรุงสวัสดิภาพความเป็นอยู่ของประชากร แต่ในขณะเดียวกันก็ช่วยชี้ให้เห็นข้อบกพร่องที่มีอยู่ด้วย ซึ่งได้แก่ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม เป็นสำคัญ นอกจากนี้แล้ว ยังได้พิจารณาถึงแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในความหมายที่เน้นการรักษาทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ (Natural Capital Stock) ซึ่งดูจะเป็นหนทางที่น่าสนใจสำหรับการลดผลกระทบข้างเคียงที่เป็นอันตรายซึ่งเกิดจากโครงสร้างพื้นฐาน อนึ่งกรณีศึกษาของการก่อสร้างถนนทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวแสดงให้เห็นผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการพัฒนานี้โดยเน้นที่ข้อบกพร่องเฉพาะในกระบวนการก่อสร้าง กรอบการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างยั่งยืนถูกนำเสนอโดยอาศัยการวิเคราะห์เอกสารงานวิจัยและกรณีศึกษาดังกล่าวเป็นพื้นฐาน กรอบดังกล่าวนี้เน้นไปที่มิติทั้งสี่ของโครงการตามที่ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ในกรณีศึกษา ได้แก่ การวางแผนอย่างรัดกุม การดำเนินโครงการอย่างรัดกุม การเฝ้าระวังอย่างมีประสิทธิผล และความรับผิดชอบ นอกจากนี้ ยังมีข้อแนะนำแสดงประกอบไว้ด้วย ซึ่งข้อแนะนำเหล่านี้จะนำไปสู่หลักการของการพัฒนาอย่างยั่งยืนในแต่ละขั้นของการพัฒนา ตัวอย่างข้อแนะนำเหล่านี้ได้แก่ การวิเคราะห์มูลค่าทางสิ่งแวดล้อมและการวิเคราะห์ อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนในขั้นวางแผนและประเมินผล การเฝ้าระวังมากขึ้นโดยหน่วยงานกำกับดูแลของภาครัฐ และกระบวนการประมูลที่โปร่งใสเพื่อป้องกันการคอร์รัปชั่น
Sat, 03 Jul 2021 00:00:00 +0000
Carbohydrate content of the medications for epileptic children treated with ketogenic diet at King Chulalongkorn memorial hospital
The purposes of this study were to establish a database of the carbohydrate content of medications and investigate carbohydrate content of medications in epileptic children treated with ketogenic diet (KD) at King Chulalongkorn Memorial Hospital. One hundred sixty-nine KD order forms in 3 events (KD initiation, follow-up visit, and hospital re-admission) for epileptic children whose aged younger than 18 years old during 2009-2017 were selected. Clinical and nutritional data were obtained from medical records and KD order forms from the pediatric nutrition unit. The study showed that oral liquid dosage forms had the highest carbohydrate content in the formulations as 0.52 (0.13-1.78) g/dosage unit. In the event of hospital re-admission, children were at risk of excessively received carbohydrate content of medications because of the increased number of medications for treating illnesses. However, there was no significant difference between carbohydrate content in the prescribed diet and carbohydrate content in the prescribed diet plus carbohydrates from medications in 3 events (p>0.05). Likewise, the difference between fat: non-fat gram ratio in the prescribed diet and fat: non-fat gram ratio in the prescribed diet plus carbohydrates from medications in 3 events were not significant (p>0.05). The result showed that seizure frequency was positively correlated with number of anti-epileptic drugs (r=0.365, p=0.021). However, no significant correlation was found between seizure frequency and carbohydrate content in the diet as prescribed plus carbohydrates from medications (p=0.462). This study demonstrated that medications in oral liquid dosage forms contained high carbohydrate content which may impact ketosis status; therefore, such dosage forms should be avoided in epileptic children treated with KD. Children should be closely monitored urine ketone, serum ketone level, and seizure frequency.; การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำฐานข้อมูลปริมาณคาร์โบไฮเดรตในยาและตรวจสอบปริมาณคาร์โบไฮเดรตในยาสำหรับเด็กโรคลมชักที่ได้รับการรักษาด้วยอาหารสร้างสารคีโตน ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แบบสั่งใช้อาหารสร้างสารคีโตนจำนวน 169 ใบ จาก 3 เหตุการณ์ ได้แก่ การเริ่มต้นได้รับอาหารสร้างสารคีโตน การติดตามประเมินผลการรักษา และการนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลของเด็กโรคลมชักที่มีอายุน้อยกว่า 18 ปี ในช่วงปี พ.ศ. 2552-2560 ถูกคัดเลือกเข้าร่วมการศึกษา โดยทำการบันทึกข้อมูลทางคลินิกและทางโภชนาการของเด็กโรคลมชักจากเวชระเบียนและแบบสั่งใช้อาหารสร้างสารคีโตน ณ หน่วยโภชนาการเด็ก ผลการศึกษาพบว่า ยารูปแบบของเหลวสำหรับรับประทานมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตในสูตรตำรับสูงที่สุดเท่ากับ 0.52 (0.13-1.78) กรัมต่อหน่วยบริโภค เด็กโรคลมชักมีความเสี่ยงที่จะได้รับปริมาณคาร์โบไฮเดรตจากยาสูงที่สุดในเหตุการณ์ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เนื่องจากจำเป็นต้องได้รับจำนวนยาเพิ่มขึ้นเพื่อใช้ในการรักษาภาวะเจ็บป่วย อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่เด็กได้รับในทั้ง 3 เหตุการณ์ พบว่า ไม่มีความแตกต่างระหว่างปริมาณคาร์โบไฮเดรตในอาหารที่กำหนดและปริมาณคาร์โบไฮเดรตในอาหารที่กำหนดรวมกับคาร์โบไฮเดรตจากยา (p>0.05) ในขณะที่สัดส่วนเป็นกรัมของไขมันต่ออาหารที่ไม่ใช่ไขมันในทั้ง 3 เหตุการณ์ ไม่พบความแตกต่างระหว่างสัดส่วนที่ได้จากอาหารที่กำหนดและสัดส่วนที่ได้จากอาหารที่กำหนดรวมกับคาร์โบไฮเดรตจากยา (p>0.05) การศึกษานี้พบว่า ความถี่ในการชักมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับจำนวนยากันชัก (r=0.365, p=0.021) อย่างไรก็ตาม ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างความถี่ในการชักกับปริมาณคาร์โบไฮเดรตในอาหารที่กำหนดรวมกับคาร์โบไฮเดรตจากยา (p=0.462) การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า ยารูปแบบของเหลวสำหรับรับประทานมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตสูงจึงอาจมีผลต่อภาวะคีโตซีสของผู้ป่วย ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการใช้ยารูปแบบดังกล่าวในเด็กโรคลมชักที่ได้รับการรักษาด้วยอาหารสร้างสารคีโตน เด็กควรได้รับการติดตามระดับคีโตนในปัสสาวะ ระดับคีโตนในเลือด และความถี่ในการชักอย่างใกล้ชิด
Wed, 03 Feb 2021 00:00:00 +0000
Carbon footprint of an acadamic organization a case study of the Department of Environmental Engineering, Chulaongkorn University
To evaluate a carbon footprint of an academic institution, direct and indirect GHG emissions were calculated. The major sources of GHG emission were classified into four main categories, which were energy use, material use, transportation, and waste disposal. The aim of this research was to evaluate the carbon footprint of the Department of Environmental Engineering, Chulalongkorn University and to develop alternative options for reduction of the greenhouse gas emissions using the measured carbon footprint as a key factor. The result showed that the total carbon footprint of the department based on year 2009 was 138.6 ton CO₂e/year and the average carbon footprint per person is 1.08 tC. From the calculation, energy consumption was considered as the biggest source of GHG emission that generated 85.2 ton CO₂e annually. It was accounted for 61.5% of the overall GHGs emission. The GHGs emission produced from transportation, waste and material use were 43.3, 9.5, and 0.6 tCO₂e annually or 31.3%, 6.8% and 0.4%, respectively. The implementation option for the reduction of carbon footprint was energy conservation within a building. The strategies included use of appliance with high energy efficiency such as air conditioning system and lighting system as well as turning off air conditioning, lighting lamps and lab equipment when they are not in use. For the waste and material use, 3R (reduce, reuse, and recycle) is considered to be the powerful strategy that should be promoted to decrease the GHG missions. This implementation strategy should be carried out along with establishment of incentive system in the organization. A campaign to create and raise awareness on GHG emission problems among the staff members and students is also needed for the organization to achieve sustainable reduction of GHG emissions.; นำเสนอการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสถาบันการศึกษา โดยการคำนวณปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นจากการใช้ไฟฟ้า และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การใช้เชื้อเพลิงในการเดินทาง การใช้วัสดุและการเกิดของเสีย วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเสนอแนะทางเลือกในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยใช้การหลักการรอยเท้าคาร์บอนเป็นเครื่องมือในการประเมิน ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปลดปล่อยจากภาควิชาในปี 2009 เท่ากับ 138.6 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/ปี ซึ่งพบว่าการใช้ไฟฟ้าเป็นแหล่งกำเนิดที่สำคัญที่สุดของการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยคิดเป็น 85.2 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/ปี หรือเท่ากับ 61.5% รองลงมาคือ การขนส่ง การจัดการของเสีย และการใช้วัสดุ คิดเป็น 43.3, 9.5 และ 0.6 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/ปี เมื่อคำนวณออกมาเป็นร้อยละต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด จะเท่ากับ 31.3%, 6.8% และ 0.4% ตามลำดับ จากผลการคำนวณที่ได้สามารถนำมาใช้เสนอแนะกลยุทธและมาตรการเพื่อลดการปล่อยเรือนกระจกของสถาบันการศึกษาได้ มาตรการที่ได้ผลดีและยั่งยืนในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกคือ หลักการอนุรักษ์พลังงานในอาคาร ซึ่งนอกจากจะสามารถลดค่าไฟฟ้าแล้ว ยังลดการปลดปล่อยเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การซื้อสินค้าอุปกรณ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น เครื่องปรับอากาศ หลอดไฟ และอุปกรณ์วิจัยประหยัดพลังงาน การลดการใช้ไฟฟ้าโดย ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกครั้งเมื่อไม่ใช้งาน การสร้างจิตสำนึกเพื่อส่งเสริมให้ทุกคนในองค์กรรวมทั้งนิสิต นักศึกษาตระหนักถึงปัญหาด้านผลกระทบจากก๊าซเรือนกระจก กระตุ้นให้เกิดโครงการการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อช่วยกันลดการใช้พลังงาน และใช้หลักการ 3R (การลดการก่อขยะ การนำกลับมาใช้ใหม่ในสภาพเดิม การนำกลับมาใช้ใหม่โดยผ่านการแปรสภาพ) ภายในองค์การมากขึ้น งานวิจัยชิ้นนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสถาบันการศึกษาอื่นๆ และสามารถนำผลการประเมินมาใช้เป็นข้อมูลในการวางมาตรการ เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของสถาบันการศึกษาต่อไปในอนาคตได้
Thu, 03 Jun 2021 00:00:00 +0000